“เป็นจินตนาการที่ซ้อนจินตนาการ ก็เหมือนนิทานที่แม่กล่อมลูกยามนอนหลับ” ในตัวเรื่องใช้แรงอธิษฐานของเด็กในการเล่าเรื่องราวผ่าน 2 ตัวละคร ตัวปีเตอร์ เป็นตัวละครที่ถูกกดดันจากครอบครัว ว่าต้องเก่งเหมือนพี่ชายตามแบบที่สังคมต้องการ แต่ตัวเขามีอิสระและจินตนาการ พอพี่ชายตายเขาก็พยายามทำตัวให้เป็นเหมือนพี่ชายเคยทำ แต่เป็นที่สองก็คือที่สองอะนะ ไม่มีใครแทนที่พี่ซึ่งเป็นที่หนึ่งได้ เขาเลยเลือกที่จะหนีไปใช้ชีวิตของตนเองมากกว่า คือไม่อยากกดดันตัวเองไม่อยากเป็นผู้ใหญ่ อยากใช้ชีวิตไปตามความฝัน ซึ่งก็คือคอนเซปของเรื่องปีเตอร์แพนนั้นแหละ ส่วนอลิซนี่ตรงตัวมาก
จะเรียกว่าแทบไม่ต้องไปวันเดอร์แลนด์เลย เพราะเธออยู่ในวันเดอร์แลนด์แล้วครับ มีทั้งควีนขาว (แม่) ควีนแดง (ป้า) ครบถ้วน สตอรี่ของเธอก็คือเรื่องอลิซ อินวันเดอร์แลนด์จริงๆแต่คอนเซปของเรื่องนี้คือการโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ มีความฝัน เชื่อในการอธิษฐาน เชื่อว่าทุกสิ่งสามารถเป็นไปได้ แถมเธอโชคดีกว่าอลิซในนิทาน เพราะยังมีครอบครัวครบสมบูรณ์(ขอไม่นับพี่ชายนะ เพราะในนิทานจริงๆ คือลูกคนเดียว)เมื่อสองแนวคิดมารวมกัน แรงอธิษฐานของเด็กทั้งสองจึงเป็นตัวดำเนินเรื่องผ่านอุปสรรคที่พบของครอบครัว และตอนสุดท้ายแล้ว ฉากจบคือการที่จะบอกว่าเด็กๆ ทุกคนมีความฝัน
และอิสระ อยากเป็นเหมือนปีเตอร์แพนนั้นแหละครับ เป็นการปูเรื่องสู่นิทานเรื่องใหม่ (ปีเตอร์แพน) ที่ลูกสาวของอลิซ ซึ่งคือเวนดี้ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวคือไปให้ลูก ๆ ฟังครับ ดังนั้นในหนังจึงทำให้เสมือนนิทานกลายเป็นเรื่องจริงแหละครับ เพราะอยุ่ในสายตาของอลิซผู้เป็นแม่ที่เคยผ่านเรื่องราวในจินตนาการมาก่อน